เคสตัวอย่างนี้ คนไข้เป็นคนไข้ย้ายเคส จัดฟันมาจากที่อื่น 6-7 ปี
ใช่ครับ ท่านอ่านไม่ผิด คนไข้อยู่กับแบ็คเก็ต และลวด มานาน แน่นอนว่าเคสลักษณะนี้มักเกิดปัญหาโรคปริทันต์ (คือหนักกว่าโรคเหงือกปกติ เริ่มมีฟันโยก เหงือกร่น ร่องเหงือกลึกมากขึ้น ฟันล้มบิดหมุนจากภาวะโรคปริทันต์) ไม่ว่าจะผ่านอะไรมาก็ตาม เราก็แค่เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ นั่งอธิบายแผนการรักษาให้คนไข้ทราบ ว่าหมอจะทำอะไรบ้าง คนไข้จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ความเสี่ยงที่ต้องเจอ ความสำคัญของการมาตามนัดทุกเดือน และความสำคัญของการไม่มาตามนัด ฟันเขี้ยวด้านซ้ายที่ขึ้นผิดตำแหน่ง ต้องถอนออก กระดูกฝั่งนี้ยุบแน่นอน และฟันตัดหน้าซี่ข้างกระดูกก็จะหายไปด้วย เสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์หลังการจัดฟันได้ด้วย
ซึ่งจากการประเมินภาพเอ็กซ์เรย์ ประเมินการสบฟัน ระยะการดึงฟัน พิจารณาว่าสามารถทำให้จบเคสได้ และเริ่มเข้าสู่การรักษา
ภายหลังการรักษาเสร็จสิ้น คนไข้พึงพอใจต่อผลการรักษาที่คาดหวังไว้ สามารถเคี้ยวอาหารได้ ปัจจุบันคนไข้อยู่ในระยะการ Maintainence กลับมาเช็คทุก 6 เดือน ตามระยะ ใส่รีเทนเนอร์สม่ำเสมอ ทำความสะอาดฟันได้ดี ซึ่งจากการตรวจสุขภาพช่องปาก แสดงให้เห็นถึงระดับของการเอาใจใส่ช่องปากที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษา
จากการคาดการณ์ตั้งแต่ก่อนการรักษา จะพบว่า บริเวณด้านซ้ายบน ที่ถอนฟันเขี้ยวออกไปนั้น กระดูกบริเวณนี้จะยุบลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับกระดูกทางด้านขวา ที่ยังคงมีฟันเขี้ยวอยู่ แต่โดยภาพรวมคนไข้ได้การสบฟันที่ดีกลับมา รักษาฟันที่เหลืออยู่ได้ต่อไป แต่เนื่องด้วยเป็นการแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติค่อนข้างมาก ประกอบกับอายุของคนไข้ หลังการรักษาจะพบภาวะโรคปริทันต์ เช่นเหงือกร่น หรือฟันโยกในระดับ 1-2 ในฟันบางซี่ นอกจากนี้สิ่งสำคัญของเคสนี้ ก่อนการถอดเครื่องมือ คุณหมอได้ให้คนไข้ใช้งานที่ระนาบการสบใหม่ ประมาณ 6 เดือน คนไข้ใช้งาน เคี้ยวอาหารได้ ไม่มีภาวะปวดข้อต่อขากรรไกรใดๆ และภายหลังจากการถอดเครื่องมือ มีการนัดกลับมา เช็คทุก 6 เดือน เพื่อติดตามอาการโรคปริทันต์ และอื่นๆต่อไป
ขอบคุณที่ติดตามอ่านบทความนะครับ : คุณหมอกอล์ฟ คลินิกทันตกรรมเดอะคราวน์โคราช