03 Nov
03Nov

คำตอบคือ ได้ครับ แต่ในแง่ของเหตุผลส่วนตัวของคนไข้ เช่นเรื่องของงบประมาณ หรือกรณีที่คนไข้ไม่มีเวลาเพียงพอในการมารักษาหลายๆครั้ง แต่ในมุมมองของหมอฟัน ฟันซี่นี้มันอ่อนแอเกินกว่าจะรับแรงในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีพอ เสี่ยงต่อการแตกหักเสียหาย เพราะคนเราเคี้ยวอาหาร หรือขยับปากไปมาตลอดเวลา หนักกว่านั้น บางรายมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมการกัดฟัน หรือชอบเคี้ยวของเหนียว ของแข็ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียหายของฟันซี่นี้มากขึ้นไปอีก

ถ้าเป็นฟันหลัง ที่ต้องรับแรงเคี้ยวมากๆ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำ เพราะลองนึกย้อนไป ฟันซี่นี้ก่อนจะรักษารากฟันผ่านอะไรมาบ้าง ทั้งฟันผุใหญ่ๆ ต้องถูกกรอเอาฟันผุออก ต้องมาเปิดรักษารากฟันอีก เนื้อฟันจริงๆแทบจะหายไปมากกว่า 50% แน่นอนความแข็งแรงมันย่อมลดลงแน่ๆ หากไม่บูรณะด้วยครอบฟัน คนไข้ก็จะต้องระมัดระวังเรื่องการเคี้ยวอาหารเป็นอย่างมาก

ลำพังแค่วัสดุอุดฟันและเนื้อฟันที่เหลือ อาจจะเสี่ยงต่อการแตกหัก มีโอกาสได้ถอนฟันไปในที่สุด ทำให้เสียทั้งเวลาและเสียเงินที่รักษาไปแล้ว. และยังต้องมาทำฟันปลอมใส่ทดแทนช่องที่ถอนไปอีก

แต่ถ้าเป็นกรณีฟันหน้า อาจจะพอยืดระยะเวลาการทำครอบฟันไปได้บ้าง แต่คนไข้ก็จะได้รับคำแนะนำว่า "อย่ากัดฟันหน้าตรงๆนะ มีโอกาสแตกหักได้" สุดท้ายคุณภาพชีวิตของคนไข้ก็จะลดลงทันที เพราะต้องคอยระมัดระวังการกัดอาหารในแต่ละมื้อ 

อีกทั้งฟันที่รักษารากฟันมา ก็จะเกิดภาวะฟันคล้ำขึ้นมาได้ โดยเฉพาะในฟันหน้าส่งผลต่อความสวยงามอย่างมาก สุดท้ายคนไข้ก็จะรับกับสีที่ดำคล้ำกว่าซี่อื่นไม่ได้ จนต้องตัดสินใจทำครอบฟันอยู่ดี

ปัจจุบันนี้ มีแนวคิดเรื่องของ การถอนฟันที่จะต้องรักษารากฟัน แล้วปักรากเทียมทดแทนไปเลย ด้วยเหตุผลเรื่องของความสำเร็จในการดูแลรักษาในระยะยาว ลดขั้นตอนการรักษา ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งส่งผลดีต่อกระดูกรอบรากฟันอีกด้วย ก็เป็นอีกแผนการรักษาหนึ่งที่คนไข้สามารถตัดสินใจเลือกได้เช่นกัน


ทีมเดอะคราวน์

Comments
* The email will not be published on the website.