03 Nov
03Nov

แบ็คเก็ตในงานจัดฟันมีมากมาย หลายยี่ห้อ เพื่อให้คนไข้ได้เลือกตามความต้องการและเหมาะสมกับสภาพช่องปากของแต่ละท่าน เราพยายามเลือกแบ็คเก็ตที่มีความหลากหลาย เหมาะสมกับคนไข้ และครอบคลุมแผนการรักษาในงานจัดฟันของทางคลินิกให้มากที่สุด ดังนี้


1. แบ็คเก็ตโลหะรัดยาง - Standard metal braces 

ชนิดนี้เป็นแบ็กเก็ตที่ทุกคนคุ้นเคย และรู้จักเป็นอย่างดี อีกทั้งทันตแพทย์ที่ทำงานจัดฟันก็ชินกับการใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแบ็กเก็ตที่นิยมใช้กันมากที่สุด ดังนั้นการควบคุมแรงในการดึงฟัน ทิศทาง หรือการป้องกัน side effect ต่างๆในการดึงฟันด้วยแบ็คเก็ตชนิดนี้ หมอจัดฟันส่วนมากจะควบคุมมันได้ดี 

เหมาะกับคนไข้ทุกคน ราคาไม่สูงมากจนเกินไป และทันตแพทย์ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบแบ็คเก็ตชนิดนี้ ทำให้ควบคุมความสำเร็จของเคสได้ดี



2. แบ็คเก็ตชนิดรัดยางแบบสองชั้น -AOSC braces

ชนิดนี้คือแบ็คเก็ตรัดยาง โดยรูปทรงตัวแบ็คเก็ตที่รองรับการรัดยางแบบ 2 ชั้น โดยจะแบ่งเป็นยางชั้นนอกและยางชั้นใน คนไข้สามารถใส่ยางได้ 2 ชิ้นต่อ 1 แบ็คเก็ต โดยทางผู้ผลิตเคลมว่า แบ็คเก็ตนี้จะทำให้ฟันเรียงตัวได้เร็วมากกว่าแบ็คเก็ตระบบปกติ ลดความเจ็บปวดจากการจัดฟันได้ 

เหมาะกับคนไข้ที่ต้องการการเคลื่อนฟันในระยะเวลาเร็วมากขึ้นกว่าปกติ ผู้ผลิตเคลมอีกว่าสามารถจัดเสร็จได้ใน 2 ปีตามแผนการรักษา (ภายใต้เงื่อนไข ถ้าท่านมาตามนัดทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ) และสำหรับท่านที่ชื่นชอบการใส่สียางหลากหลายในรูปแบบที่ไม่ซ้ำใคร ท่านต้องหลงไหลในแบ็คเก็ตชนิดนี้แน่นอน



3. แบ็คเก็ตชนิดโลหะไม่รัดยาง - Pitt21 Self-ligating braces

เป็นแบ็คเก็ตที่ไม่มียางมารัดแบ็คเก็ตและลวด ดังนั้นมันจะช่วยเสริมประสิทธิภาพของเคลื่อนฟันไปบนลวดได้ดีขึ้น เพราะมันไม่มีแรงต้านจากยางที่จะมากระทำต่อตัวลวดได้ โดยในขั้นตอนการเรียงฟันไล่ระดับลวดในช่วงแรกก็จะยังไม่มีการใช้ยางรัดแบ็คเก็ต แต่ในช่วงการดึงฟันก็จะใช้ C-chain ในการดึงตามปกติ

เหมาะกับคนไข้ที่ต้องการการเคลื่อนฟันในระยะเวลาเร็วมากขึ้นกว่าปกติ และปฏิเสธการใส่ยางในช่องปากมากจนเกินไป




4. แบ็คเก็ตเซรามิกรัดยาง- Clear braces

กลุ่มนี้จะคล้ายกับกลุ่มแบ็คเก็ตโลหะธรรมดาที่กล่าวไป แต่จะได้ความใสของแบ็คเก็ตมา ร่วมกับใช้ยางใสในการดึง เพราะเชื่อกันว่า จะช่วยลดการมองเห็นโลหะในช่องปากไปได้บ้าง แต่คนไข้บางรายก็เลือกแบ็คเก็ตชนิดนี้ ร่วมกับยางหลากสีสัน ก็ช่วยให้เกิดความสวยงามได้เช่นกัน

ตัวแบ็คเก็ตมีความใสมาก แต่ไม่มีส่วนของโลหะเลย ดังนั้นคนไข้ต้องเคี้ยวอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอาหารที่แข็งมากๆเพราะแบ็คเก็ตแตกหักเสียหายได้ง่ายกว่าชนิดโลหะพอสมควรเลย

เหมาะกับคนไข้ที่ไม่ต้องการเห็นสีโลหะในช่องปาก ปฏิเสธงานจัดฟันแบบถอดได้และปฏิเสธการจัดฟันแบบติดแบ็คเก็ตด้านหลังของซี่ฟัน 




5. แบ็คเก็ตเซรามิคแบบไม่รัดยาง Clear self-ligating braces

เป็นแบ็คเก็ตที่ถูกออกแบบมาให้มีความใสเป็นธรรมชาติ และไม่มียางมารัดที่ตัวของแบ็คเก็ตและลวด ดังนั้นมันจะช่วยเสริมประสิทธิภาพของเคลื่อนฟันไปบนลวดได้ดีขึ้น เพราะมันไม่มีแรงต้านจากยางที่จะมากระทำต่อตัวลวดได้ โดยในขั้นตอนการเรียงฟันไล่ระดับลวดในช่วงแรกก็จะยังไม่มีการใช้ยางรัดแบ็คเก็ต แต่ในช่วงการดึงฟันก็จะใช้ C-chain ในการดึงตามปกติ 


เหมาะกับคนไข้ที่ไม่ต้องการเห็นสีโลหะในช่องปาก ปฏิเสธงานจัดฟันแบบถอดได้และปฏิเสธการจัดฟันแบบติดแบ็คเก็ตด้านหลังของซี่ฟัน และต้องการการเคลื่อนฟันในระยะเวลาเร็วมากขึ้นกว่าปกติ




6. ครอบใส - Clear aligner

เป็นเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ชิ้นงานค่อนข้างใหญ่ คลุมทั้งตัวฟันแทบทุกซี่ในช่องปาก

เหมาะกับคนไข้ที่ไม่ต้องการเห็นสีโลหะในช่องปาก ปฏิเสธงานจัดฟันชนิดติดแน่น(แบ็คเก็ต) ทำความสะอาดได้ง่าย แปรงและใช้ไหมขัดฟันง่าย ทำให้สุขภาพช่องปากดีกว่าการติดแบ็คเก็ตที่อาจจะต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดในแต่ละครั้งมากกว่าปกติ  ดีต่อสุขภาพเหงือก ดังนั้นเหมาะกับคนไข้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก เช่นอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป  นอกจากนี้ในรายที่แก้ไขฟันอย่างง่าย เช่น ปิดช่องห่าง แก้ไขฟันบิดเล็กน้อย ก็สามารถเลือกจัดฟันใสได้ อัตราการประสบความสำเร็จจะสูง



สุดท้ายนี้ ก่อนการตัดสินใจเลือกชนิดของแบ็คเก็ตแต่ละอย่างด้วยตัวของคนไข้ ก็ควรขอความคิดเห็นจากทันตแพทย์ร่วมด้วยจะเป็นการดี เพราะความยากง่ายของแต่ละเคส มีความแตกต่างกัน ดังนั้นความคุ้นชินของทันตแพทย์ต่อการทำงานร่วมกับแบ็คเก็ตก็มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเครียดในการทำงาน และช่วยให้ผลการรักษาสำเร็จได้อย่างสวยงาม



Comments
* The email will not be published on the website.